Living

‘Catenary Arch’ สะท้อนความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการออกแบบด้วยเทคโนโลยีจาก CPAC 3D Printing Solution

Jimbo
/
06 tháng 01, 2025

เมื่อเราสามารถ Print ได้ทุกอย่าง
แม้แต่ ‘คอนกรีต’

พาไปดูหนึ่งในแลนด์มาร์คในงาน Bangkok Design Week 2024 ประติมากรรมโครงสร้างปูนที่ไม่ได้หล่อขึ้นมา แต่เกิดจากการทำ ‘3D Printing’ ขึ้นมาทั้งชิ้น !

เราอาจจะเคยเห็นการทำ 3D Printing ชิ้นเล็กๆ อย่างถ้วยน้ำหรือเก้าอี้สักตัว หลักการทำงานคือใช้หัวฉีดวัสดุวนเป็นชั้นขึ้นไป เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงที่เรากำหนด เป็นเทคโนโลยีที่เราเริ่มเห็นกันแพร่หลายในอุตสาหกรรม แน่นอนว่าวงการสถาปัตย์ก็ไม่น้อยหน้า ไอเดีย 3D Concrete Printing จึงเกิดขึ้น

ทว่าการพรินต์คอนกรีตสำหรับการก่อสร้างกลับประสบปัญหาหลายอย่าง ทั้งขนาดที่ใหญ่โต น้ำหนักมาก และคอนกรีตทั่วไปที่อาจเหลวจนไม่เป็นทรง เป็นความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังพยายามก้าวข้าม

วันนี้เลยขอพาไปเจาะเบื้องหลังงาน “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” ที่บริเวณลานจตุรัสไปรษณีย์ ที่เกิดจากการออกแบบของ ‘DesireSynthesis’ โดยใช้เทคโนโลยีจาก CPAC 3D Printing Solution มาสะท้อนความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อโลก

สำหรับใครที่ไปเดินงาน #BKKDW2024 แล้วผ่านไปที่อาคารไปรษณีย์กลางอย่าลืมแวะไปชม หรือจะแค่แวะไปนั่งพักให้หายเหนื่อย ก็ถือว่าตอบโจทย์ตามที่ออกแบบมาแล้วนะ !


“Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” จุดนัดพบ และที่พักผ่อนหย่อนใจ

“Catenary Arch” เป็นผลงานจากความร่วมมือระหว่าง ‘CPAC Green Solution’ ผู้นำด้านนวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม กับคุณเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ และคุณพชร เรือนทองดี สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งแห่ง ‘DesireSynthesis’

โดยผลงานนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาการก่อสร้างด้วยคอนกรีตในปัจจุบัน ซึ่งต้องใช้ ‘ไม้แบบ’ จำนวนมาก เป็นโครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตให้เป็นรูปร่างที่เราต้องการ ซึ่งสุดท้ายไม้แบบก็จะเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้การหล่อคอนกรีตเป็นรูปทรงโค้งอิสระก็ยากที่จะทำ การใช้ 3D Printing จึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ ทลายขอบเขตการก่อสร้างแบบเดิมๆ ยุคนี้จะโค้งอิสระแค่ไหนก็สร้างได้

แก้ปัญหาด้วยคอนกรีตสูตรรักษ์โลก จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution

CPAC 3D Printing Solution นำเสนอเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถพรินต์คอนกรีตออกมาได้อย่างอิสระ แต่ตอนนี้สามารถทำได้ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น… ใหญ่จนเข้าไปอาศัยอยู่ได้เลยทีเดียว

ทว่าจะใช้คอนกรีตแบบทั่วไปก็ไม่ได้ เพื่อให้สามารถซ้อนขึ้นไปเป็นชั้น มีความแข็งแรง แห้งเร็วในอุณหภูมิบ้านเรา CPAC Green Solution ทำการคิดค้นคอนกรีตสูตรรักษ์โลกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเทคโนโลยี 3D Printing

ด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะประกอบกับการออกแบบที่ลื่นไหล ร้อยเรียงอย่างอิสระ ออกมาเป็นประติมากรรมซุ้มประตูขนาด 3 x 3.5 ม. และสูง 2.7 ม. ด้วยรูปทรงแสดงถึงการถ่ายแรงตามธรรมชาติที่สวยงาม โดยลดการใช้ไม้แบบได้ ! 

บูรณาการ 3 แง่มุมที่จำเป็นในงานสถาปัตยกรรม เพื่อให้เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

1.) ​​ข้อจำกัดของวัสดุ และเครื่องมือ ทดสอบแรง และระบบการทำงานของ 3D Printing โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของวัสดุ และข้อจำกัดของเครื่องจักร

2.) ลักษณะการถ่ายแรงของโครงสร้าง: ปั้นชิ้นงาน 3D โดยเริ่มต้นจากรูปทรงเหลี่ยม แล้วทดสอบด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น การตอบสนองของโครงสร้างต่อแรงสั่นสะเทือน และเลือกออกมาเป็นรูปทรง Catenary Arch เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความทนทานต่อแรงโน้มถ่วง

3.) ฟังก์ชัน ประโยชน์ใช้สอย: เพื่อเชื่อมต่อสถาปัตยกรรมเข้ากับผู้คน และสังคม ในบริบทของงาน BKKDW2024 จึงออกมาเป็นพื้นที่นั่งรอ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กให้แก่คนในพื้นที่ 


Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี

– Bangkok Design Week 2024
– ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง
– 27 ม.ค. – 4 ก.พ. 2024 เวลา 11.00-22.00 น.

icon
Bài viết này có hữu ích với bạn không ?
Đánh giá bài viết
Subscribe
Notify of
guest
0 Góp ý
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
Bài viết liên quan
ความคิดสร้างสรรค์ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร?
06 tháng 01, 2025
การสร้างธุรกิจซักที่ยิ่งใหญ่ซักอย่าง ตามปกติอาจต้องเกิดจากการมี เงินทุน/วัตถุดิบ เป็นจำนวนมาก แต่ในโลกปัจจุบันมีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีติดตัว และสามารถหยิบนำออกมาใช้ได้ทันทีนั่นคือ “ความคิดสร้างสรรค์”“ความคิดสร้างสรรค์” จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มาเพื่อตอบโจทย์ปัญหา และใช้เทคโนโลยี เพื่อทำให้ไอเดียนั้นเกิดขึ้นได้จริง ใช้สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ และ สร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า เช่น Airbnbหนึ่งตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง 2 ธุรกิจที่ใช้/ไม่ใช้ Creative Economy...
ออกแบบดีมีชัยไปกว่าครึ่ง รวมจบเรื่องราวของ คุมะมง เจ้าหมีที่พลิกชีวิตคุมาโมโตะ
06 tháng 01, 2025
เคยเห็นเจ้าหมีคุมะมง กันมานานแล้ว รู้ไหมมันมาจากที่ไหน?หนึ่งในความญี่ปุ๊น-ญี่ปุ่น ก็คือการใช้ตัว ‘มาสคอต’ ในการโปรโมทสิ่งต่างๆ เนื่ยแหละ เพราะทำออกมาน่ารักโดดเด่นและเป็นเทคนิคทางการตลาดที่เฉพาะตัว หากจะพูดถึงมาสคอตที่โด่งดังและสร้างเม็ดเงินให้กับชุมชนมากที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้าหมี ‘คุมะมง Kumamon’ มาสคอตจากจังหวัดคุมาโมโตะ วันนี้เราจะมารวบรวมความน่าทึ่ง ที่ไม่ใช่แค่ความน่ารักยียวน แต่พาไปดูแนวคิดสุดเท่กว่าจะมาเป็นเจ้าหมีที่ทุกคนหลงรัก บอกเลยว่า การออกแบบวางแผนดีๆ มีชัยไปกว่าครึ่ง!เรื่องราวเริ่มจากในปี 2011...
ชวนไปทำความรู้จักผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านนิทรรศการออนไลน์ You Me We Us
06 tháng 01, 2025
แม้ในปัจจุบันสังคมโลกมองเรื่องของความหลากหลายว่าเป็นสิ่งสวยงาม การเคารพ ให้เกียรติในความต่างเป็นเรื่องธรรมดาที่พึงมีให้กัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในไทยเองยังคงมีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์เกิดขึ้นมากมาย เช่น กรณีเรื่อง #Saveบางกลอย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปจนถึงขั้นบังคับสูญหายกรณีที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากบริบทของสังคมในปัจจุบัน ที่บางครั้งคำว่า ‘ไทย’ อาจถูกหยิบยกมาใช้จำแนกเพียงคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เกิดที่ประเทศไทย ซึ่งในทางตรงกันข้าม บางครั้งก็กลับกลายเป็นคำที่กีดกันคนบางกลุ่มออกไปเสียด้วยซ้ำทั้งที่จริงแล้วหากมองด้วยเลนส์ของวัฒนธรรม ประเทศไทยประกอบด้วยประชากรหลายชาติพันธุ์ เพียงแต่ความหลากหลายที่ว่านั้นอาจไม่เคยบรรจุอยู่ในตำราเรียนมากไปกว่าเพียงแค่ชื่อ หรือความหลากหลายนั้นอาจะไม่เคยถูกมองเป็นเรื่องปกติเลยด้วยซ้ำ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กลายเป็นคนตกขอบที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานอย่างปฏิเสธไม่ได้ด้วยความไม่รู้ทำให้เกิดปัญหา...
Tokyo Nude อาคารที่ไร้ชีวิตชีวา โดย Rumi Ando
06 tháng 01, 2025
Tokyo nude by Rumi Ando (2020)โตเกียวเป็นเมืองที่มีการขยับขยายความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตึกที่สร้างแออัดกันแทบจะราวกับมีชีวิต Rumi Ando ผู้เป็นช่างภาพและนักรีทัช อาศัยอยู่ในโตเกียวอยู่กับรูปแบบชีวิตที่ค่อนข้างอึดอัดนี้แต่ในทางกลับกัน ความรู้สึกของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนดูจะเลือนลางลงไป ทุกคนเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในอินเทอร์เน็ต บางครั้งการเชื่อมต่อเสมือนที่ห่างไกล ดูจะสำคัญกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอีกฟากหนึ่งของกำแพงภาพเสมือนกลายเป็นของจริง และของจริงก็กลายเป็นภาพเสมือนRumi Ando เริ่มสงสัยว่าโตเกียวจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ต้องการวัสดุในส่วนที่เป็นฟังก์ชั่นของการใช้ชีวิตอีกต่อไป ร่องรอยของการใช้ชีวิตของมนุษย์หายไปจากเมือง...
icon