Living

เมื่อ Sauna + Bus จะเกิดอะไรขึ้น!? ‘Sabus’ ไอเดียการเปลี่ยนรถเมล์เลิกใช้ให้กลายเป็นตู้อบซาวน่าเคลื่อนที่

Jimbo
/
06 tháng 01, 2025

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ออกแบบสร้างสรรค์ โดยใช้จินตนาการประยุกต์สิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราคาดไม่ถึงอยู่เสมอ งานออกแบบหลายๆ อย่างล้วนถูกคิดมาอย่างเป็นขั้นตอน อย่างที่เราได้เห็นมากมาย เช่น โอลิมปิกที่เพิ่งผ่านไป

วันนี้เลยชวนมาดูโปรเจกต์ Sabus ที่หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นศัพท์ญี่ปุ่นหรือเปล่า? แต่จริงๆ มันมาจากคำว่า Sauna + Bus ซึ่งเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะที่เลิกใช้งานแล้ว ให้กลายเป็นตู้อบซาวน่า ซึ่งก็มีความนิยมในญี่ปุ่นอยู่พอสมควร (เช่น โรงอาบน้ำสาธารณะบางแห่งจะมีซาวน่าอยู่ด้วย)

โดยรถคันแรกที่จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแปลงร่างในครั้งนี้ จะเริ่มที่รถจากบริษัท Shinki Bus ที่ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ ซึ่งรถประจำทางหลายสายต้องหยุดให้บริการ ด้วยผลกระทบจากการเดินทางและท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมานั่นเอง

การตกแต่งภายในจากการปรับปรุงใหม่ในครั้งนี้ แม้จะเปลี่ยนโครงสร้างภายในให้ให้กลายเป็นซาวน่า แต่ก็ยังคงเก็บเอาเอกลักษณ์อันคลาสสิกดั้งเดิมบางอย่างของรถเมล์เอาไว้ เช่น มีสายรัดแขวนอยู่เหนือม้านั่งในห้องซาวน่า หรือ เปลี่ยนปุ่มที่ใช้กดเวลาต้องการลงจากรถ ให้กลายเป็นปุ่มที่ฉีดสร้างไอน้ำ

ตัวโลโก้เองก็สนุกไม่แพ้กัน โดยโลโก้ของ Shinki Bus ที่แต่เดิมเคยเป็นนกสีฟ้า ก็ถูกเปลี่ยนเป็นนกฟินิกส์ ที่เหมือนการเกิดใหม่เป็น Sabus ที่พร้อมจะเคลื่อนที่ไปอบอุ่นร่างกายและจิตใจของผู้คนทั่วประเทศ

และเมื่อเปลี่ยนจากธุรกิจขนส่งคนแล้ว เดือน พ.ค. 2021 จึงได้ตั้งบริษัทรองที่อยู่ในเครือ Shinki Bus ขึ้นมาเป็นบริษัท Ribahsu เพื่อดูแล Sabus โดยเฉพาะ โดยชื่อบริษัท Ribahsu (リバス’) ก็ออกเสียงเป็น ‘Re-Birth’ หรือ ‘Re-Bus’ ได้ด้วยนั่นเอง คิดมาครบสมเป็นญี่ปุ่นจริงๆ

souce

icon
Bài viết này có hữu ích với bạn không ?
Đánh giá bài viết
Subscribe
Notify of
guest
0 Góp ý
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
Bài viết liên quan
ความคิดสร้างสรรค์ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร?
06 tháng 01, 2025
การสร้างธุรกิจซักที่ยิ่งใหญ่ซักอย่าง ตามปกติอาจต้องเกิดจากการมี เงินทุน/วัตถุดิบ เป็นจำนวนมาก แต่ในโลกปัจจุบันมีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีติดตัว และสามารถหยิบนำออกมาใช้ได้ทันทีนั่นคือ “ความคิดสร้างสรรค์”“ความคิดสร้างสรรค์” จะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มาเพื่อตอบโจทย์ปัญหา และใช้เทคโนโลยี เพื่อทำให้ไอเดียนั้นเกิดขึ้นได้จริง ใช้สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ และ สร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับลูกค้า เช่น Airbnbหนึ่งตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง 2 ธุรกิจที่ใช้/ไม่ใช้ Creative Economy...
ออกแบบดีมีชัยไปกว่าครึ่ง รวมจบเรื่องราวของ คุมะมง เจ้าหมีที่พลิกชีวิตคุมาโมโตะ
06 tháng 01, 2025
เคยเห็นเจ้าหมีคุมะมง กันมานานแล้ว รู้ไหมมันมาจากที่ไหน?หนึ่งในความญี่ปุ๊น-ญี่ปุ่น ก็คือการใช้ตัว ‘มาสคอต’ ในการโปรโมทสิ่งต่างๆ เนื่ยแหละ เพราะทำออกมาน่ารักโดดเด่นและเป็นเทคนิคทางการตลาดที่เฉพาะตัว หากจะพูดถึงมาสคอตที่โด่งดังและสร้างเม็ดเงินให้กับชุมชนมากที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้าหมี ‘คุมะมง Kumamon’ มาสคอตจากจังหวัดคุมาโมโตะ วันนี้เราจะมารวบรวมความน่าทึ่ง ที่ไม่ใช่แค่ความน่ารักยียวน แต่พาไปดูแนวคิดสุดเท่กว่าจะมาเป็นเจ้าหมีที่ทุกคนหลงรัก บอกเลยว่า การออกแบบวางแผนดีๆ มีชัยไปกว่าครึ่ง!เรื่องราวเริ่มจากในปี 2011...
ชวนไปทำความรู้จักผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านนิทรรศการออนไลน์ You Me We Us
06 tháng 01, 2025
แม้ในปัจจุบันสังคมโลกมองเรื่องของความหลากหลายว่าเป็นสิ่งสวยงาม การเคารพ ให้เกียรติในความต่างเป็นเรื่องธรรมดาที่พึงมีให้กัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในไทยเองยังคงมีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์เกิดขึ้นมากมาย เช่น กรณีเรื่อง #Saveบางกลอย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปจนถึงขั้นบังคับสูญหายกรณีที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากบริบทของสังคมในปัจจุบัน ที่บางครั้งคำว่า ‘ไทย’ อาจถูกหยิบยกมาใช้จำแนกเพียงคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เกิดที่ประเทศไทย ซึ่งในทางตรงกันข้าม บางครั้งก็กลับกลายเป็นคำที่กีดกันคนบางกลุ่มออกไปเสียด้วยซ้ำทั้งที่จริงแล้วหากมองด้วยเลนส์ของวัฒนธรรม ประเทศไทยประกอบด้วยประชากรหลายชาติพันธุ์ เพียงแต่ความหลากหลายที่ว่านั้นอาจไม่เคยบรรจุอยู่ในตำราเรียนมากไปกว่าเพียงแค่ชื่อ หรือความหลากหลายนั้นอาจะไม่เคยถูกมองเป็นเรื่องปกติเลยด้วยซ้ำ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์กลายเป็นคนตกขอบที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานอย่างปฏิเสธไม่ได้ด้วยความไม่รู้ทำให้เกิดปัญหา...
Tokyo Nude อาคารที่ไร้ชีวิตชีวา โดย Rumi Ando
06 tháng 01, 2025
Tokyo nude by Rumi Ando (2020)โตเกียวเป็นเมืองที่มีการขยับขยายความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตึกที่สร้างแออัดกันแทบจะราวกับมีชีวิต Rumi Ando ผู้เป็นช่างภาพและนักรีทัช อาศัยอยู่ในโตเกียวอยู่กับรูปแบบชีวิตที่ค่อนข้างอึดอัดนี้แต่ในทางกลับกัน ความรู้สึกของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนดูจะเลือนลางลงไป ทุกคนเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในอินเทอร์เน็ต บางครั้งการเชื่อมต่อเสมือนที่ห่างไกล ดูจะสำคัญกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอีกฟากหนึ่งของกำแพงภาพเสมือนกลายเป็นของจริง และของจริงก็กลายเป็นภาพเสมือนRumi Ando เริ่มสงสัยว่าโตเกียวจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ต้องการวัสดุในส่วนที่เป็นฟังก์ชั่นของการใช้ชีวิตอีกต่อไป ร่องรอยของการใช้ชีวิตของมนุษย์หายไปจากเมือง...
icon